วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการล้างมือ กินร้อน ช้อนกลางปลอดโรค

รายงานประเมินผล
โครงการ ล้างมือ กินร้อน ช้อนกลาง ปลอดโรค
งานศูนย์บริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองทุ่งสง 
*****************************

หลักการและเหตุผล 
       ขั้นตอนการล้างมือของเด็กนักเรียน ในงานแถลงข่าว วันล้างมือโลก 2012 เพื่อเป็นการกระตุ้นและปลูกฝังให้เกิดการล้างมืออย่างถูกวิธีจนเป็นนิสัย เพื่อช่วยลดการติดเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน
ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก ระบุว่า  โรคติดเชื้อเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของเด็กทั่วโลกกว่า 3.5 ล้านคนต่อปี เช่น โรคปอดบวมและโรคท้องร่วง จากสถิติข้างต้นพบว่ามีมากถึง 1.5 ล้านคน ที่เสียชีวิตจากโรคท้องร่วง จากกรณีที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปาก กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้น จะเป็นเด็กนักเรียน ที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และโรงเรียนในระดับประถมศึกษา
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 15 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่ที่พบผู้ป่วย ผู้สงสัยป่วยโรคคอตีบ และพื้นที่เสี่ยงอยู่ติดกับที่พบผู้ป่วย ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู เพชรบูรณ์ อุดรธานี สุราษฏร์ธานี สกลนคร พิษณุโลก ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองคาย พิจิตร อุตรดิตถ์ บึงกาฬ และน่าน เพื่อติดตามสถานการณ์ และการควบคุมป้องกันโรคคอตีบในแต่ละพื้นที่
เภสัชกรหญิงอินทิรา วงศ์อัญมณีกุล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน ได้เปิดเผยผลโครงการวิจัยล้างมือด้วยสบู่ลดโรคในโรงเรียน ว่าในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษา ปีที่ 4  จำนวน 553 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง หลังจากที่ให้ความรู้ และกระตุ้นให้มีการปฏิบัติการล้างมืออย่างถูกวิธี พบว่า โรคต่างๆ ที่มีมือเป็นพาหนะนำโรคเข้าสู่ระบบต่างๆ ในร่างกาย มีอัตราที่ลดลงเนื่องจากติดเชื้อหวัดถึงร้อยละ 50 และนอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมการล้างมือของนักเรียนเปลี่ยนไป โดยขยันล้างมือบ่อยขึ้น
จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน 10 อันดับแรก ของโรคที่ป่วยสูงสุดในปีงบประมาณ 2553 และ 2554 คือโรคระบบทางเดินหายใจ    พบผู้ป่วยมารับนบริการ 5,808 ครั้งและ 5,782 ครั้ง และมีผู้มารับบริการด้วยโรคระบบทางเดินอาหารในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 293 ครั้งและปีงบประมาณ 2554 จำนวน 271 ครั้ง ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้โรคดังกล่าวแพร่ระบาดกับเด็ก       นักเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองทุ่งสง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงออกรณรงค์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อ อุบัติใหม่ในนักเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความตระหนัก และปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อต่างๆ ถึงแม้ในขณะนี้จะยังไม่พบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว กับเด็กนักเรียนของในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงก็ตาม ดังนั้นจึงได้มีการสอนแนะนำให้เด็กนักเรียน ได้รู้จักวิธีการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองในเบื้องต้น โดยเฉพาะด้านสุขอนามัยของร่างกาย ซึ่งได้มีการสอนวิธีการล้างมืออย่างถูกวิธีให้กับเด็กนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคดังกล่าว เพื่อเป็นการให้ความรู้และสร้างเสริมพฤติกรรม การป้องกันโรคด้วยตนเอง นอกเหนือจากวัคซีน ได้แก่ การกินร้อน   เลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ใช้ช้อนกลาง เมื่อรับประทานร่วมมือผู้อื่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และล้างมือบ่อยๆ หลังสัมผัสสิ่งของ ซึ่งหากเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ติดตัวไปแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าเด็กนักเรียน จะสามารถปลอดภัยจากโรคในระบบทางเดินอาหาร โรคมือเท้าปากหรือโรคคอตีบได้ และมุ่งหวังว่าเด็กนักเรียน      จะนำพฤติกรรมการป้องกันโรค ที่ถูกต้องไปขยายผลต่อที่บ้านและผู้ใกล้ชิดต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
          1. เพื่อเป็นการกระตุ้น สร้างความตระหนักและให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการล้างมือ 7 ขั้นตอนเพื่อลดการแพร่ระบายกระจายเชื้อโรคที่ติดต่อในระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ
          2.  เพื่อลดการเกิดโรคติดต่อจากการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนจากผู้ที่เจ็บป่วยจากผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก

วัตถุประสงค์การประเมิน 
1. เพื่อประเมินความพึงพอใจในการจัดโครงการ ล้างมือ กินร้อน ช้อนกลาง ปลอดโรค ในครั้งนี้

วิธีการดำเนินงาน
1.   ประชุมกลุ่มผู้รับผิดชอบและตัวแทนจากโรงเรียน
2.   เสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งสง
3.   ประชาสัมพันธ์และประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย
4.   ดำเนินงานตามโครงการ ให้ความรู้
5. จัดประกวดเต้นล้างมือ และแจกสื่อประชาสัมพันธ์การล้างมือ 7 ขั้นตอน บอร์ดนิทรรศการ      ล้างมือ
6.   ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลโครงการ

เกณฑ์การประเมิน
หัวการประเมินออกเป็น  5  ระดับ  มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
4.51 – 5.00              หมายถึง    ระดับมากที่สุด
3.51 – 4.50              หมายถึง    ระดับมาก
2.51 – 3.50              หมายถึง    ระดับปานกลาง
1.51 – 2.50             หมายถึง    ระดับน้อย
1.00 – 1.50              หมายถึง    ระดับน้อยที่สุด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
โครงการ ล้างมือ กินร้อน ช้อนกลาง ปลอดโรค

       แบบสอบถามประเมินกิจกรรมรณรงค์ ประกวดเต้นประกอบเพลงล้างมือ/กิจกรรมให้ความรู้ โครงการล้างมือ กินร้อน ช้อนกลาง ปลอดโรค


ตอนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 1  เพศ
เพศ
จำนวน
ร้อยละ
1.   ชาย
7
17.5
2.   หญิง
33
82.5
รวม
40
100



อภิปรายผล  
        ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน  33 คน คิดเป็นร้อยละ 82.5 และเพศชาย จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5

ตารางที่ 2  การศึกษา
การศึกษา
จำนวน
ร้อยละ
1.       ประถมศึกษา
15
37.5
2. มัธยมศึกษา/ปวช.
8
20.0
3. ปวส./อนุปริญญา
4
10.0
4. ปริญญาตรี
13
32.5
รวม
40
100


อภิปรายผล  
        ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาประถมศึกษา จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 ปริญญาตรี จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 32.5 มัธยมศึกษา/ปวช. จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 20.0 และปวส./อนุปริญญา จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0


 ตารางที่ 3  อาชีพ
อาชีพ
จำนวน
ร้อยละ
1. นักเรียน/นักศึกษา
13
32.5
2. ลูกจ้างประจำ
9
22.5
3. ข้าราชการ
3
7.5
4. ค้าขาย/ประกอบอาชีพส่วนตัว
10
25.0
5. อื่นๆ
5
12.5
รวม
40
100

อภิปรายผล  
        ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 32.5 ค้าขาย/ประกอบอาชีพส่วนตัว จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0 ลูกจ้างประจำ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 22.5 อื่นๆ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 และ ข้าราชการ จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 7.5

ตอนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม/โครงการ

ตารางที่  4  ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม/โครงการ
หัวข้อประเมิน
ระดับความคิดเห็น
1.   ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
3.28
ปานกลาง
2.   การประชาสัมพันธ์โครงการ
3.10
ปานกลาง
3. การนำเสนอกิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธง/พรีเซ็นเตอร์
4.48
ปานกลาง
4.   สถานที่จัดกิจกรรม/สื่อโสตทัศนูปกรณ์
3.45
ปานกลาง
5.   กำหนดการแข่งขัน
3.20
ปานกลาง
6.   การลงทะเบียน/การต้อนรับ
3.18
ปานกลาง
7.   พิธีเปิดงาน/พิธีปิด
3.40
ปานกลาง
8.   อาหารว่างและเครื่องดื่ม/อาหารกลางวัน
2.80
ปานกลาง
9.   คณะกรรมการผู้ตัดสิน
3.53
มาก
10.                     เกียรติบัตร/ของรางวัล
3.75
มาก
11.       ผู้เข้าร่วมโครงการฯสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
3.95
มาก
รวม
3.38
ปานกลาง

 อภิปรายผล
       ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม/โครงการ ในภาพรวม           ค่าเฉลี่ย 3.38  อยู่ในระดับปานกลาง โดยแยกเป็นรายด้านเรียงลำดับ ดังนี้
1.   ผู้เข้าร่วมโครงการฯสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ย 3.95 อยู่ในระดับมาก
2.   เกียรติบัตร/ของรางวัล ค่าเฉลี่ย 3.75  อยู่ในระดับมาก
3.   คณะกรรมการผู้ตัดสิน ค่าเฉลี่ย 3.53 อยู่ในระดับมาก
4.   การนำเสนอกิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธง/พรีเซ็นเตอร์ ค่าเฉลี่ย 3.48 อยู่ในระดับปานกลาง
5.   สถานที่จัดกิจกรรม/สื่อโสตทัศนูปกรณ์ ค่าเฉลี่ย 3.45 อยู่ในระดับปานกลาง
6.   พิธีเปิดงาน/พิธีปิด ค่าเฉลี่ย 3.40 อยู่ในระดับปานกลาง
7.   ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ค่าเฉลี่ย 3.28 อยู่ในระดับปานกลาง
8.   กำหนดการแข่งขัน ค่าเฉลี่ย 3.20 อยู่ในระดับปานกลาง
9.   การลงทะเบียน/การต้อนรับ ค่าเฉลี่ย 3.18 อยู่ในระดับปานกลาง
10.         การประชาสัมพันธ์โครงการ ค่าเฉลี่ย 3.10 อยู่ในระดับปานกลาง
11.         อาหารว่างและเครื่องดื่ม/อาหารกลางวัน ค่าเฉลี่ย 2.80 อยู่ในระดับปานกลาง
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเกี่ยวกับอาหารว่างและเครื่องดื่ม/อาหารกลางวัน   ในครั้งนี้ อยู่ในระดับปานกลางเป็นลำดับสุดท้าย จึงควรปรับปรุงเรื่องนี้ในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป